การเขียนบทภาพยนตร์สั้น

การเขียนบทภาพยนตร์สั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราว หรือ บางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ
ขั้นตอนการเขียนบทหนังสั้น

1. Research
2. Theme
3. Plot
4. Synopsis
5. Treatment
6. Scenario
7. Paradigm
8. Screenplay
9. Shooting script
10. Storyboard

Research

ต้องยอมรับว่า คนทำหนังสั้น ส่วนใหญ่จะละเลยในขั้นตอนนี้ ซึ่งที่จริงแล้วการresearchเป็นสิ่งสำคัญนะ บางคนอาจจะไม่รู้วิธีการหรือไม่รู้foramttก็ไม่ว่ากัน เลยอยากจะคุยกัยในวิธีการคร่าวๆ ของขั้นตอนนี้ หนังเกี่ยวข้องกับมนุษย์ เราก็เป็นมนุษย์ เราเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง? นั่นแหละคือสิ่งที่ตัวละครเกี่ยวข้อง เราอาจจะต้องมีตัวละครในใจแล้วสักคนหนึ่ง การresearchเป็นการหารายละเอียดของตัวละครมาหาใส่ ที่จริงการresearchไม่มีformatt จุดประสงค์คือเก็บเกี่ยวข้อมูลของตัวละครให้ได้มากที่สุด สร้างเป็นประวัติของตัวละคร อะไรบ้างลองมาดูกัน

1.ชื่อ เช่น ชื่อชาวมุสลิม ฉายาของพระสงฆ์ ชื่อตัวละครเชื้อชาติอื่น(มีหนังไทยอยู่เรื่องหนึ่ง ตั้งชื่อดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสด้วยภาษาอิตาลี) ถ้าเราไม่รีเสิรช อาจจะทำให้ใช้ภาษาผิด

2.อายุ อายุของตัวละครทำให้เรารู้ว่าตัวละครนั้นผ่านยุคสมัยอะไรมาบ้าง เคยผ่านสถานการณ์บ้านเมืองอะไรมา ผู้ใหญ่บางคนพูดว่ายี่เก ม.ศ.5 ในขณะที่เด็กสมัยเรียกว่า ช่วงชั้นที่4ปีที่2

3.ภูมิลำเนาวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน คำศัพท์บางคำก็ต่างกัน สำเนียงก็ต่างกัน ทัศนคติต่อสังคมก็ไม่เหมือนกัน ตัวละครบางตัวเกิดปมขัดแย้งในเรื่องการเป็นคนแปลกถิ่น ธรรมเนียมหรือกฎหมายของแต่ละประเทศก็ต่างกัน

4.ระดับการศึกษาจะมีผลต่อวุฒิภาวะของตัวละคร ภาษาที่ใช้ มุมมองต่อสังคม การควบคุมอารมณ์

5.อาชีพเป็นปัจจัยที่สร้างตัวตนของตัวละครที่ชัดเจนมากอย่างหนึ่ง ศัพท์ในอาชีพ ตำรวจก็มีวิธีการพูดแบบตำรวจแม้แต่ในคำพูดนอกเหนือจากการปฏิบัติงาน ครูสอนภาษาอังกฤษก็จะมีรูปแบบการใช้ประโยคที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ กิริยาท่าทางศิลปินแกะสลัก ก็ปอกผลไม้ไม่เหมือนคนทั่วไป คนเล่นโขนก็มีท่วงท่าการเดิน-วิ่งที่สง่างาม รูปพรรณสัณฐานบางอาชีพทำให้ร่างกายมีเอกลักษณ์ เช่น นักมวย ทหาร กรรมกรกลางแจ้ง แม่ครัวที่อยู่หน้าเตา เอกลักษณ์ที่เกิดจากการประกอบอาชีพนี้ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ที่ทำให้นักแสดงกลายเป็นตัวละครของเรามากขึ้น

6.ฐานะการเงินเป็นพื้นฐานชีวิตของตัวละครเลยก็ว่าได้ เพราะมันส่งผลไปถึงรายละเอียดต่างๆของตัวละคร เช่น สภาพที่อยู่อาศัย พฤติกรรมการบริโภค เสื้อผ้า อาหาร ยี่ห้อของข้าวของเครื่องใช้ วิธีการเดินทาง รวมไปถึงความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าบางอย่าง

7.กลุ่มทางสังคมเช่นแก๊งส์มอเตอร์ไซค์ แก๊งส์รถแต่ง เด็กแนว ฯ บางกลุ่มมีภาษาเฉพาะ เช่นกระเทย เดื๋อย หมายถึง เพื่อนรัก เพื่อนสนิท เรียกแทนชื่อเพื่อน ไปไหนมาเดื๋อย รอนานแล้วนะเดื๋อย หรือเบเกอรี่ มีความหมายเดียวกับคำว่า ปาดหน้าเค้ก ตั้งหม้อ ลูกชุบ หมายถึง การแย่งชิงสิ่งของ หรือ บุคคลอันเป็นที่หมายปองของเราไป เช่น ดูนังแอนสิยะ พอเห็นผู้ชายหล่อมา นางก้อเบเกอรี่สุดฤทธิ์ เป็นต้น วัยรุ่น(บางกลุ่ม)เฮ้อ…วันนี้อารมณ์แฟ๊งค์สุดๆ เลยออกไปเดินเล่นชิวชิวข้างนอก

8.ตัวละครพิเศษ เช่น คนบ้า คนวิกลจิต คนป่วย ต้องรีเสิรชว่าเป็นประเภทไหน มีอาการอย่างไร หรือ ภาษามือ ภาษาเขียนของคนหูหนวกเป็นใบ้ ก็มีรูปแบบเฉพาะ

9.ความต้องการในชีวิต คนทุกคนมีความต้องการในชีวิต เราอาจจะออกแบบความต้องการของตัวละครได้ แต่การรีเสิรชจะทำให้เรารู้ว่าเหตุผลที่เราคิดขึ้นนั้นสอดคล้องกับความเป็นจริงเพียงใด วิธีการที่ตัวละครปฏิบัติให้ได้มาซึ่งเป้าหมายนั้นก็ต่างกันไป ยิ่งตัวละครไกลจากเราเท่าไหร่ยิ่งจำเป็นต้องรีเสิรช เช่น วิธีแก้ปัญหาของเด็ก การยอมรับความสูญเสียคนรักของพยาบาล ที่กล่าวมาอาจจะเป็นแค่ประวัติตัวละครกว้างๆ ที่จะนำไปสนับสนุนพฤติกรรมต่างๆของตัวละครเมื่อมีสถานการณ์ต่างๆเข้ามา แต่ตัวละครของหนังแต่ละเรื่องก็จะมีบุคลิกภาพเฉพาะ และสถานการณ์แตกต่างออกไป จึงควรมีการรีเสิรชตัวละครกับสถานการณ์ตามที่ออกแบบด้วย วิธีรีเสิรชที่ดีที่สุดคือการรีเสิรชจากบุคลที่ใกล้เคียงกับตัวละครของเราที่สุด และลองตั้งคำถามกับเขาว่าถ้าต้องเจอกับสถานการณ์ตามที่เราออกแบบ จะมีมุมมองหรือวิธีแก้ปัญหาอย่างไร

Theme

แปลได้ว่า แก่น ใจความสำคัญ แนวคิดหลัก สาร ประเด็น ฯ หนังสั้นที่ได้ผลดี ควรจะมีthemeเพียงหนึ่งเดียว คือมีประเด็นหลักที่ต้องการจะสื่อสารเพียงหนึ่งสิ่ง เพราะเวลาที่สั้นทำให้ไม่สามารถเล่าประเด็นหลายๆประเด็นได้อย่างสมบูรณ์
การเขียนtheme ไม่ได้ต้องใช้คำสวยหรู ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจยาก ไม่ต้องเป็นปรัชญา ไม่จำเป็นต้องเป็นแนวคิดสากล เป็นความแนวคิดส่วนตัวก็ได้ เพียงแต่เราต้องมีความเชื่อในแนวคิดหรือthemeนั้นๆ และมีมุมมองที่จะนำเสนอ เหมือนกับการที่เราจะโน้มน้าวใจเรื่องอะไรสักเรื่องกับใครสักคน ถ้าเราไม่เชื่อในแนวคิดนั้นแล้ว มุมมองที่จะใช้ถ่ายทอด ชักจูง ต่อต้านฯ ก็จะไม่แม่น

รูปแบบหรือformattของtheme มักจะเป็นประโยคสั้นๆ ที่มีความชัดเจน themeเป็นประเด็นหรือแนวคิดสำคัญที่คนเขียนบทต้องการจะบอก โดยหาสถานการณ์ต่างๆมารองthemeนั้น บางคนก็เอามาจากสำนวน สุภาษิต คำพังเพย เช่น กล้านักมักบิ่น ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก ปล่อยเสือเข้าป่า

จากคำคม เช่น “Praise the bridge that carried you over.” – George Colman – จงขอบคุณสะพานที่ให้คุณเดินข้ามมา “Well done is better than well said.” – Ben Franklin- การลงมือทำดีกว่าคำพูดที่สวยหรู

หรือthemeของบางคน ไม่ได้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ หรือปรัชญาอะไรเลย เพียงแต่ชัดเจนในเรื่องที่จะเล่า เช่น เล่นดนตรีทำให้ลืมความทุกข์ หลังคารั่วก็ไปอุดรูหลังคา ไม่ใช่เอากะละมังมารองน้ำฝน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนหน่อยในเรื่องthemeคือ ภาพยนตร์โฆษณา และมิวสิควิดีโอ จะมีรูปแบบการนำเสนอใกล้เคียงกับหนังสั้น หนังโฆษณานี่เป็นตัวอย่างที่ดีเลย เพราะหนังโฆษณาแต่ละเรื่องจะมีthemeที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับแผนการตลาดของสินค้าด้วย เช่น ชีวิตมีเรื่องดีดีตั้งเยอะ!! อย่างMVก็จะมีเนื้อหาของเพลงเป็นแนวทางอยู่แล้ว ซึ่งเพลงหนึ่งเพลงก็มักจะมีแนวคิดสำคัญเพียงอันเดียว ในภาพยนตร์ขนาดยาวก็ต้องมีประเด็นที่เป็นthemeหลัก(ประเด็นอื่นๆอาจจะป็นsubtheme) เช่น เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ (15ค่ำ เดือน11)
พลังที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่(Spiderman)

Plot

การเขียนพล็อตก็เหมือนกัน มันเปรียบเสมือนการทำแผนที่ แผนผัง การทำพล็อตหนังสั้น ผมแนะนำให้พล็อตไว้ 3 จุดครับ คือ

1.จุดเริ่มต้น
2.จุดหักเห
3.จุดจบ จุดเริ่มต้น อย่างน้อยควรรู้ว่าตัวละครคือใคร สถานการณ์ทั่วไปเป็นอย่างไร จุดหักเห คือสถานการณ์ที่ตัวละครนั้นเจอ ในหนังสั้นมักจะเป็นสถานการณ์ที่ไม่ซับซ้อนนัก เป็นปัญหาที่ชัดเจนที่สุดของตัวละคร จุดจบ
คือสถานการณ์ที่เป็นจุดเข้มข้นสุดของเรื่อง ก่อนที่จะคลี่คลายหรือจบลง

Synopsis

n. สรุป, สรุปความ, ข้อใหญ่ใจความ, สาระสำคัญ

ในทางการเขียนบท เรามักเรียกSynopsisว่า เรื่องย่อ รูปแบบการเขียนsynopsisของหนังสั้น มักจะเป็นความเรียง เล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบอย่างย่อ มีความยาวประมาณ5-6บรรทัด เล่าตัวละครและเหตุการณ์เพื่อสรุปว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ฯ ด้วยมุมObjectiveของคนเขียนบทเอง คล้ายๆกับการเขียนเรื่องย่อบนปกหลังกล่องVCD แต่อย่างที่บอก ไม่ต้องกั๊กตอนจบ ในขั้นนี้แนะนำให้เขียนเรื่องให้ได้3ย่อหน้า (เหมือนเขียนเรียงความ มีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป)โดยยึดจากหลักจากการเขียนplot อาจจะเป็น

ย่อหน้าของจุดเริ่มต้น2บรรทัด

ย่อหน้าของจุดหักเห3บรรทัด

และย่อหน้าของจุดจบ1บรรทัด

Treatment

n. การรักษา, การเยียวยา, การปฏิบัติต่อ, การกระทำต่อ, วิธีการทางวรรณกรรม treatment ในการเขียนบท หมายถึงโครงเรื่องขยาย คือมีการเขียนคำอธิบายขยายเนื้อเรื่องชัดเจนมากขึ้น เหมือนรูปแบบของนวนิยายหรือเรื่องสั้น มีการบรรยายรายละเอียดต่างๆที่จำเป็นต่อการเล่าเรื่อง เช่น ชื่อตัวละคร ลักษณะตัวละคร สถานการณ์ต่างๆ สถานที่ วัน เวลา เหตุผลของตัวละคร ฯ แต่ยังไม่มีบทสนทนา (นอกจากว่า จะเป็นประโยคสำคัญ) treatmentหนังสั้น มักมีความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 เป็นบทที่นิยมมอบให้คนอื่นอ่าน เพราะจะมีรายละเอียดที่มากพอจะเล่าเรื่องได้สมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงมักตั้งชื่อตัวละครไปด้วย อย่างที่เคยกล่าวมาว่า ชื่อตัวละครของหนังสั้นที่ดี ควรจะสื่อถึงcharacterด้วย ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้ถึงกับสื่อสารได้ทันที แต่ก็ดีกว่าไม่ใช่หรือ ถ้าเราจะไม่ได้คิดมามั่วๆ

Scenario

Scenario scenario เป็นขั้นตอนต่อมาจาก treatment มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งฉากของtreatment ให้เห็นเป็นsceneชัดเจน และนิยมเขียนเป็นข้อๆว่า ในsceneเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อคำนวณความยาวของแต่ละฉาก และคะเนได้ว่าทั้งเรื่องจะยาวเท่าไหร่ สำนวนการเขียนจะรวบรัด และใช้ภาษาอธิบายเหตุการณ์ การแสดง มากกว่าอธิบายความคิด หรืออารมณ์ตัวละคร ในขั้นการเขียนscenario จะมีการเขียนหัวฉาก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.Scene Number เขียนว่า ฉาก1 หรือScene1หรือrunเป็นตัวอักษร ตามแต่ถนัด 2.ระบุว่าเป็นฉากภายนอกหรือภายใน ฉากภายนอก หมายถึง ฉากที่อยู่กลางแจ้ง ไม่มีฝาผนัง หลังคา หรือสิ่งปกคลุม เช่น สนามกอล์ฟ ถนน สะพานลอย ทุ่งนา ดาดฟ้า ฯ หรือพูดง่ายๆว่าภายนอกจากอาคารหรือสิ่งปกคลุม นิยมเขียนว่า ภายนอกหรือExteriorหรือExt ฉากภายในหมายถึง ฉากที่มีฝาผนังอย่างน้อย1ด้าน ภายในอาคาร อุโมงค์ใต้ดิน ในรถ ในบ้าน นิยมเขียนว่า ภายในหรือInteriorหรือInt 3.ชื่อฉาก หมายถึง ชื่อสถานที่นั้นๆ เช่น ห้องฉุกเฉิน สถานีตำรวจ ออฟฟิศฯ (ให้เขียนชื่อสถานที่ตามเนื้อเรื่อง ไม่ใช่ชื่อLocationจริง) 4.เวลา ให้เขียนเวลาตามเนื้อเรื่อง นิยมเขียน กลางวัน , กลางคืน หรือDay , Night แต่ถ้าจะระบุช่วงเวลาละเอียดกว่านั้นก็ได้ เช่น เช้าตรู่ ,เที่ยง , โพล้เพล้

Paradigm

Paradigm เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง ที่ช่วยสรุปจังหวะของการเขียนบทที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร ขั้นตอนที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าเรื่องนั้นดำเนินไปเป็นฉากๆแล้ว แต่เรายังไม่ได้ถอยออกมา แล้วมองเรื่องทั้งเรื่อง เป็นจังหวะหรือstepของการดำเนินเรื่อง วิธีการของขั้นตอนนี้ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์และตีความ คุณสมบัติหรือหน้าที่ของแต่ละฉาก เพื่อตรวจสอบดูว่าอะไรขาด อะไรเกิน และไปสู่การ ออกแบบstepของการเล่าเรื่องนั่นแหละครับ ถ้าไม่พอใจ จะได้แก้ไขก่อนจะเข้าสู่Screenplay การวิเคราะห์ ตีความ คุณสมบัติและหน้าที่ของฉาก คุณสมบัติหรือหน้าที่ที่พูดถึงนี้ คือ หน้าที่ต่อการเล่าเรื่อง เล่าอารมณ์ เราต้องสรุปได้ว่า ฉากนั้นๆ มีประโยชน์อย่างไร

ใส่ความเห็น